สหกรณ์กับการจ่ายเงินชดเชยและเงินบำเหน็จเมื่อออกจากงาน

สหกรณ์กับการจ่ายเงินชดเชยและเงินบำเหน็จเมื่อออกจากงาน

ลักษณะ
รายละเอียด
หมายเหตุ
1. สหกรณ์
  • เป็นนิติบุคคลที่จดทะเบียนตามกฎหมายสหกรณ์
  • พระราชบัญญัติสหกรณ์ 2542
2. เจ้าหน้าที่
  • เจ้าหน้าที่ผู้ปฏิบัติงานทุกตำแหน่ง
  • ตามระเบียบว่าด้วยเจ้าหน้าที่และข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงาน
3. ลูกจ้าง
  • ลูกจ้าง ได้แก่ คนงาน  ยาม นักการภารโรง คนขับรถยนต์  ช่างฝีมือ
  • ตามระเบียบว่าด้วยเจ้าหน้าที่และข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงาน
4. เงินเดือนค่าจ้าง
  • ตามประกาศอัตราตาม พรบ.คุ้มครองแรงงาน
  • กำหนดอัตราเงินเดือน เลื่อนขั้นเงินเดือน บัญชีเงินเดือน
  • เพื่อถือปฏิบัติตามพรบ.คุ้มครองแรงงานขั้นต่ำต้องไม่กว่าตามที่กฎหมายกำหนด
5. การลาโดยได้รับ
เงินเดือน ค่าจ้าง
  • ลาป่วยไม่เกิน 30 วัน
  • ลาคลอดบุตรไม่เกิน 45 วัน
  • ลากิจไม่เกิน 10 วัน
  • ลาฝึกทหารไม่เกิน 60 วัน
  • ลาฝึกอบรมความรู้ ไม่เกิน 15 วัน
  • ลาอุปสมบทไม่เกิน 15 วัน
  • ตามระเบียบว่าด้วยเจ้าหน้าที่และข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงาน
6. การสิ้นสุดการจ้าง
  • ตาย
  • ลาออก
  • อายุครบ 60 ปี เว้นแต่การจ้างต่อทั้งนี้ไม่เกิน 65 ปี 
  • ถูกลงโทษไล่ออกหรือให้ออก
  • ตามระเบียบว่าด้วยเจ้าหน้าที่และข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงาน
7. การเลิกจ้าง
  • ยุบหน่วยงาน
  • เลิกกิจการ
  • เกษียณอายุ
  • ตามระเบียบว่าด้วยเจ้าหน้าที่และข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงาน
8. ค่าชดเชย
  • เจ้าหน้าที่หรือลูกจ้างทำงานครบ 120 วัน แต่ไม่ครบ 1 ปี ให้จ่ายไม่น้อยกว่า 30 วัน
  • เจ้าหน้าที่หรือลูกจ้างทำงานครบ 1 ปี แต่ไม่ครบ 3  ปี
    ให้จ่ายไม่น้อยกว่า 90 วัน
  • เจ้าหน้าที่หรือลูกจ้างทำงานครบ3 ปี แต่ไม่ครบ 6 ปี
    ให้จ่ายไม่น้อยกว่า 180 วัน
  • เจ้าหน้าที่หรือลูกจ้างทำงานครบ 6 ปี แต่ไม่ครบ 10 ปี
    ให้จ่ายไม่น้อยกว่า 240 วัน
  • เจ้าหน้าที่หรือลูกจ้างทำงานครบ 10  ขึ้นไป 
    ให้จ่ายไม่น้อยกว่า 300 วัน
  • ตามระเบียบว่าด้วยเจ้าหน้าที่และข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงาน และ พรบ.คุ้มครองแรงงานมาตรา 118
9. ข้อยกเว้นไม่จ่าย
  • ทุจริตต่อหน้าที่
  • จงใจทำให้นายจ้างได้รับความเสียหาย
  • ละทิ้งงานเกินกว่า 3 วัน
10. ค่าบำเหน็จ
  • เจ้าหน้าที่หรือลูกจ้างของสหกรณ์ทำงานไม่น้อยกว่า 5 ปีขึ้นไป มีสิทธิได้รับเงินบำเหน็จเมื่อออกจากตำแหน่ง
    เว้นแต่การออกเพราะถูกลงโทษไล่ออก 
    หรือเลิกจ้างและมีสิทธิได้รับเงินชดเชยตาม ข้อ 71
  • ตามระเบียบว่าด้วยเจ้าหน้าที่และข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงาน และ พรบ.คุ้มครองแรงงาน

11. การคำนวณบำเหน็จของเจ้าหน้าที่และลูกจ้าง

  • เงินเดือน เดือนสุดท้าย คูณ จำนวนปีที่ทำงานในสหกรณ์ เศษของปีถ้าเกิน 180 วัน ให้นับเป็นหนึ่งปี
  • ถ้าต่ำกว่านี้ให้ปัดทิ้ง
  • ตามระเบียบว่าด้วยเจ้าหน้าที่และข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงาน

ดังนั้น   เจ้าหน้าที่หรือลูกจ้างของสหกรณ์มีเงินชดเชย หรือมีเงินบำเหน็จเมื่อออกจากงาน